Bim O cupsule บิมโอ ภูมิคุ้มกันสมดุลกับการดูแลสุขภาพตา ความผิดปกติของดวงตา วุ้นตาเสื่อม เนื้อเยื่อตาเสื่อม พังผืดที่ตา เบาหวานขึ้นตา ต้อกระจก ต้อหิน สายตายาว ม่านตาอักเสบ
ReadyPlanet.com
call center 092-982-6465 ข้อมูลชัดเจน
สินค้า ชุดพิเศษ
bim100 operation bim
Testimonials
dot
Question for health
dot
dot
main menu
dot
OperationBIM Products-Bim100 balancing immunity products-ผลิตภัณฑ์บิม100 อาหารเสริมปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุล มิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ
TrimOne Slimming Products-ทริมวัน ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ได้ผล ปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง
Cosmetic products  for healthy
GM1  mangosteen Supplement product
buy it now
Bank for payment
Healthy Articles - บทความสุขภาพ
join member
 Q & A




งานวิจัย APCO กับการดูแลสุขภาพตา

 การดูแลสุขภาพตา และ อาการผิดปกติที่ควรไปตรวจตา

หลายๆ คนคงจะคิดว่าแม้ไม่มีดวงตา หรือตาบอดก็ยังไม่ถึงแก่ชีวิต ทำให้การระวังรักษาดวงตากลายเป็นเรื่องรองจากการรักษาโรคทางกายอื่นๆ ความคิดเช่นนี้มีส่วนถูกต้องอยู่ก็จริง แต่ก็คงต้องยอมรับว่า การมีสายตาปกติตั้งแต่เกิดไปจนเสียชีวิต จะทำให้เราสามารถประกอบภารกิจต่างๆ ได้ดี มีคุณภาพชีวิต ได้เห็นโลกกว้าง และมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข สามารถช่วยเหลือสังคม ซึ่งหนึ่งในวิธีการดูแลดวงตา ก็คือการไปตรวจตา โดยเฉพาะเมื่อเกิดอาการผิดปกติต่างๆ 

อาการผิดปกติที่ควรไปตรวจตา

1. ความผิดปกติของการมองเห็น ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น

     1.1) ตามัวลง ไม่ว่าจะเป็นเพราะเคยมองเห็นได้ดีกว่านี้ หรือมองเห็นได้น้อยกว่าผู้อื่นในวัยเดียวกัน เช่น เด็กนักเรียนยืนอยู่หลังชั้น เพื่อนๆ เห็นตัวหนังสือบนกระดานดำ แต่เราไม่เห็น หรือเคยมองเห็นป้ายบอกทางในระยะนี้ แต่บัดนี้มองไม่ชัด เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปต้องคอยทดลองตาทั้ง 2 ข้าง ด้วยการปิดตาเพื่อเทียบการมองเห็นจากตา 2 ข้าง เพราะมีอยู่บ่อยมากที่ผู้ป่วยไม่ทราบว่า มองเห็นข้างเดียวมานาน เพราะตาที่เป็นโรคมัวลงอย่างช้าๆ จนเจ้าตัวไม่ได้สังเกตBim O eye care บิม โอ แคปซูล ดูแลสุขภาพตา ความผิดปกติของดวงตา วุ้นตาเสื่อม เนื้อเยื่อตาเสื่อม

     1.2) เห็นภาพบิดเบี้ยว อาจจะเห็นเส้นตรงเป็นโค้งหรือหงิกๆ งอๆ มักเป็นตาเดียว ซึ่งอาจทดสอบด้วยตัวเองโดยเทียบกับตาข้างดี อาการอย่างนี้จะบ่งถึงว่ามีความผิดปกติของจอประสาทตาส่วนกลาง (macula)

     1.3) เห็นภาพขาดหายไป เช่น มองหน้าคนไม่เห็นลูกตา หรือมองภาพคล้ายๆ ใครเอาผ้าม่านมาปิดบางส่วน หรือเห็นภาพดำๆ ตรงกลาง อาการแบบนี้เป็นความผิดปกติของลานสายตา บางคนอาจมาด้วยลานสายตาซีกขวาไม่เห็น หรือมาด้วยอาการมักจะเดินชนวัตถุที่มาทางด้านขวา เป็นต้น ภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดปกติของจอประสาทตา ประสาทตา ตลอดจนสมอง

     1.4) มองเห็นวัตถุข้างหน้าเป็น 2 อัน หรือหลายอัน เช่น คนสูงอายุเห็นดวงจันทร์สองดวง หรือหลายดวง อันเนื่องมาจากโรคต้อกระจก หรือผู้ป่วยมีเนื้องอกในโพรงจมูก เกิดอาการมึนงง เพราะเห็นคนเดียวข้างหน้าเป็น 2 คน จากกล้ามเนื้อตาผิดปกติ เป็นต้น

     1.5) เห็นจุดดำๆ หรือตัวแมลง หรือเป็นเส้นๆ ลอยไปมา แสดงถึงมีพยาธิสภาพของน้ำวุ้นตา ตลอดจนเห็นแสงคล้ายๆ แฟลชเป็นบางครั้ง บ่งถึงอาจมีความผิดปกติของจอประสาทตา ฯลฯ

2. ตาแดง เป็นอาการที่สำคัญอันหนึ่งอาจพบในโรคเยื่อบุตาอักเสบ ต้อลม ต้อเนื้อ ซึ่งไม่อันตราย รักษาได้ง่ายหรืออาจหายเองได้ ตลอดจนตาแดงจากโรคที่รุนแรง เช่น ต้อหินเฉียบพลัน ม่านตาอักเสบ การอักเสบภายในลูกตา ฯลฯ ซึ่งหากรักษาช้าหรือไม่รับการรักษา จะทำให้ตาบอดได้ ผู้มีอาการตาแดงจึงควรปรึกษาแพทย์

3. ปวดตา เจ็บตา ร่วมกับมีหรือไม่มีขี้ตา บ่งถึงมีความผิดปกติภายในหรือรอบๆ บริเวณเบ้าตา

4. ปวดศีรษะบ่อยๆ ในบางรายอาจเป็นอาการแสดงของสายตาผิดปกติ หรือมีการอักเสบของเบ้าตา ตลอดจนการใช้สายตาผิดๆ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์วันละหลายๆ ชั่วโมง เป็นต้นBim O eye care บิม โอ แคปซูล ดูแลสุขภาพตา ความผิดปกติของดวงตา วุ้นตาเสื่อม เนื้อเยื่อตาเสื่อม

4 โรคตาสำคัญที่ควรพึงระวัง ได้แก่ 

1. โรคต้อกระจก (Cataract) เป็นภาวะที่เลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวเกิดขึ้น โดยจะเป็นมากขึ้นตามวัย ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการที่รบกวนต่อการมองเห็น แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งจนต้อกระจกเป็นมากขึ้น จะทำให้การมองเห็นแย่ลง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ตาบอดอย่างถาวรได้

อาการของต้อกระจก จะมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนปกติ ทำให้การมองเห็นมีลักษณะขุ่นมัวเป็นฝ้า ทั้งยังทำให้ความสามารถของมองเห็นในที่สลัว หรือตอนกลางคืนลดลง อาจมองเห็นแสงกระจายจากดวงไฟในที่มืด เช่น เวลาขับรถตอนกลางคืนแล้วมีรถสวน  เป็นต้น นอกจากนี้ ความสามารถในการมองเห็นสีก็จะผิดปกติจากความเป็นจริงอีกด้วย

การรักษา ผู้ที่มีอาการของต้อกระจกควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์ เพื่อรับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น

2. โรคต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากความผิดปกติของขั้วประสาทตาที่มีเส้นใยประสาทนับล้านเส้นเกิดความเสียหาย และความดันในลูกตาสูงผิดปกติ จนส่งผลทำลายเส้นใยประสาท ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับการมองเห็นจากลูกตาไปยังสมองเพื่อทำการประมวลเป็นภาพ

อาการของต้อหิน โรคต้อหินชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ต้อหินชนิดเรื้อรัง (Chronic glaucoma) หรือ ต้อหินปฐมภูมิ (Primary glaucoma) โดยจะสูญเสียการมองเห็นบริเวณรอบนอกของลานสายตา การมองเห็นจะแคบลงจนเสมือนมองผ่านท่อ เมื่อเกิดจุดบอดขึ้นในลานสายตาของผู้ป่วยและขยายตัวขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีขอบเขตในการมองเห็นแคบลง หากรักษาไม่ทันการณ์ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ส่วนต้อหินอีกชนิดที่พบได้น้อยกว่า คือ ต้อหินชนิดเฉียบพลัน (Acute angle closure glaucoma) ซึ่งจะทำให้ตามัวลง ตาแดง มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง เนื่องจากความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วBim O eye care บิม โอ แคปซูล ดูแลสุขภาพตา ความผิดปกติของดวงตา วุ้นตาเสื่อม เนื้อเยื่อตาเสื่อม

การรักษา การรักษาต้อหินในปัจจุบัน มีทั้งการใช้ยาหยอดตา การใช้เลเซอร์ และการผ่าตัด เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะแรกของโรค มีโอกาสสูงที่จะรักษาการมองเห็นของผู้ป่วยไว้ได้ตลอดไป และสามารถควบคุมอาการของโรคได้ โดยไม่มีการสูญเสียลานสายตาของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น

3.โรคเอเอ็มดี (Age-related macular degeneration) หรือโรคจุดรับภาพของจอตาเสื่อม เนื่องจากอายุเป็นโรคที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อของจอตา (retina) ส่วนที่รับภาพตรงกลางของลานสายตาและมีความคมชัดของภาพสูงที่สุด ซึ่งโรคนี้จะทำให้เกิดความเสื่อมตัวของเนื้อเยื่อดังกล่าว และทำให้เกิดจุดบอดขึ้นในบริเวณใจกลางของภาพที่เรามองเห็น โดยมี 2 ลักษณะ คือ เอเอ็มดี ชนิดเปียก (wet AMD) และเอเอ็มดี ชนิดแห้ง (dry AMD)

อาการของเอเอ็มดี ทำให้การมองเห็นภาพบิดเบื้ยวโค้งผิดรูป โดยเฉพาะเวลาดูเส้นตรง หรืออ่านหนังสือ การมองเห็นโดยรวมลดลง ภาพไม่มีความชัดเจน อาจมองเห็นเหมือนมีเงาดำ หรือจุดบอด เกิดขึ้นที่บริเวณพื้นที่ตรงส่วนกลางของการมองเห็น

การรักษา หากพบว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับความชัดเจนของการมองเห็น โดยเฉพาะตรงส่วนกลางของภาพ หรืออาการอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับการเป็นเอเอ็มดี ควรรีบมาตรวจกับจักษุแพทย์โดยเร็ว ผู้ที่เป็น เอเอ็มดี ชนิดแห้ง ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถชะลอการดำเนินของโรคได้ ส่วน เอเอ็มดี ชนิดเปียก สามารถรักษาได้ทั้งการใช้ยา การใช้แสงเลเซอร์และการผ่าตัด ผลการรักษาจะดีที่สุดเมื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกของโรคที่แผลยังมีขนาดเล็กอยู่

4.โรควุ้นตาเสื่อม (Vitreous degeneration) เกิดจากวุ้นตาที่อยู่ภายในลูกตา มีการเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นลักษณะเหลวและกลายเป็นสารน้ำเมื่ออายุมากขึ้น โดยเส้นใยโปรตีนซึ่งอยู่ภายในวุ้นตาจะตกตะกอนเป็นลักษณะคล้ายลิ่ม หรือเส้นใยที่หนาขึ้น จนทำให้เกิดเงาตกกระทบลงบนจอประสาทตา ทำให้เราเห็นเป็นเส้น หรือรอยขีด หรือหยากไย่ลอยไปมา ซึ่งเงาที่ลอยไปมานี้ คือ วุ้นตาที่มีการเสื่อมตัว

อาการของวุ้นตาเสื่อม มักจะมองเห็นเส้น หรือหยากไย่ ลักษณะเป็นฝ้าสีเทาหรือดำ และเงานี้จะขยับเล็กน้อยได้เมื่อมีการกลอกตา โดยทั่วไปจะเป็นมากขึ้นอย่างช้าๆ หรือคงที่เป็นเวลานาน หรือในบางรายอาจจางลงได้เอง

โดยทั่วไป วุ้นตาเสื่อมนั้นไม่มีอันตรายและไม่ต้องการการรักษา แต่การเห็นเงาลอยไปมานั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดจากวุ้นตาเสื่อมเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดเงาลอยไปมาจำนวนมาก ร่วมกับการเห็นแสงไฟวาบขึ้นเป็นระยะ หรือมีการสูญเสียลานสายตา ภาวะเช่นนี้อาจบ่งชี้ว่ามีโรคจอประสาทตาลอก หรือในบางรายเงาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากมีความผิดปกติของเส้นเลือดในตาและมีการแตกของเส้นเลือด เช่น ในกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและมีเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เลือดที่ออกในวุ้นตาก็จะทำให้เกิดเงาเช่นกัน

ดังนั้น ผู้ที่พบว่าตนเห็นเงาลอยไปมา จักษุแพทย์จะแนะนำให้ได้รับการตรวจเพื่อแยกโรค ว่าไม่มีภาวะอื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตานอกเหนือจากการเสื่อมตัวของวุ้นตา นอกจากนี้ ในลูกตาที่มีการอักเสบ มีอุบัติเหตุกระทบกระแทก และในผู้ที่มีสายตาสั้น อาจมีการเสื่อมของเนื้อจอประสาทตาร่วมด้วยกับวุ้นตาที่เสื่อมตัวลง จึงแนะนำให้ผู้ที่มีสภาวะดังกล่าวได้รับการตรวจตา วุ้นตา และจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์

 อยากย้ำว่า การดูแลดวงตาให้ห่างไกลโรคจะช่วยให้เรามีสายตาที่ดีได้นานๆ ฉะนั้นอย่าผัดวันประกันพรุ่งที่จะไปพบจักษุแพทย์หากพบว่าดวงตาของเรามีอาการผิดปกติ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองนะคะ

 ข้อมูลเพิ่มเติม  Line id :  @bim959

 Bim O hot line for eye care product sale and free delivery

 



1
[Go to top]