ชุดผลิตภัณฑ์บิม100-Arthinox capsule เหมาะกับผู้ป่วยแพ้ภูมิตัวเอง โรค เอส แอล อี SLE โรคลูปุส ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่เป็น SLE
ReadyPlanet.com
call center 092-982-6465 ข้อมูลชัดเจน
สินค้า ชุดพิเศษ
bim100 operation bim
Testimonials
dot
Question for health
dot
dot
main menu
dot
OperationBIM Products-Bim100 balancing immunity products-ผลิตภัณฑ์บิม100 อาหารเสริมปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุล มิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ
TrimOne Slimming Products-ทริมวัน ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ได้ผล ปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง
Cosmetic products  for healthy
GM1  mangosteen Supplement product
buy it now
Bank for payment
Healthy Articles - บทความสุขภาพ
join member
 Q & A




ผู้ป่วยแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค เอส แอล อี SLE หรือ โรคลูปุส

 

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค เอส แอล อี SLE หรือ โรคลูปุส  เป็นโรคที่คนไทยเราน่าจะรู้จักไว้ เพราะพบว่าคนไทยเป็นกันมาก  และอาการมักรุนแรงกว่าที่พบในยุโรปหรืออเมริกา แต่ไม่ต้องกลัวเพราะตัวโรคเองไม่ติดต่อและไม่ได้ร้ายแรงเสมอ  ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสม ปฏิบัติตัวถูกต้อง โรคก็จะสงบลงได้” เป็นคำพูดของ ผศ. น.พ. กิตติ โตเต็มโชคชัยการ หน่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ เอส แอล อี (SLE) เกิดได้อย่างไร

โรค เอส แอล อี SLE เป็นโรคที่เกิดจากการแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่งที่มีอาการแสดงออกของโรคหลากหลาย bim100 product (Arthinox capsule) for SLE ตั้งแต่อาการน้อยถึงรุนแรงขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน และขึ้นอยู่กับว่าเกิดอาการอักเสบที่อวัยวะไหน ฟังคุณหมอกิตติว่าแล้วเราคงตั้งคำถามอีกว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าโดยปกติแล้วเม็ดเลือดขาวบางชนิดในร่างกายเราจะเป็นตัวสร้างโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นภูมิคุ้มกัน แล้วภูมิคุ้มกันตัวนี้มีหน้าที่ไปต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกาย แต่ปรากฏว่าคนที่เป็นโรค เอส แอล อี มีเม็ดเลือดขาวอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ แทนที่จะไปต่อต้านเชื้อโรคกลับสร้างภูมิคุ้มกันที่ไปทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายของตนเอง ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่อวัยวะต่างๆ ที่มันเข้าไปทำลาย เช่น ถ้าจับที่ผิวหนังก็จะทำให้เกิดผื่น ถ้าจับกับไตก็จะทำให้เกิดการอักเสบของไต จับกับเยื่อหุ้มข้อ ก็จะเกิด ข้ออักเสบขึ้น จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง

ใครจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค เอส แอล อี (SLE) บ้าง

ผู้ป่วยด้วยโรคแอส เอล อี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 20-45 ปีโดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชายประมาณ 9-10 เท่า  พบได้ในทุกเชื้อชาติ จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว จะพบมากในบริเวณเอเชียตะวันออก  เช่น ในประเทศไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง, และจีน จากความรู้ของ แพทย์ที่เพิ่มขึ้นประกอบกับความตระหนักรู้ของประชาชนทำให้พบผู้ป่วยโรคเอส แอล อี เพิ่มมากขึ้น

ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เอส แอล อี (SLE) แน่ชัด  แต่มี หลักฐานที่บ่งบอกว่าจะเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน คือ
1. กรรมพันธุ์
2. ฮอร์โมนเพศหญิง
3. ภาวะติดเชื้อบางชนิด, โดยเฉพาะเชื้อไวรัส
นอกจากนี้เรายังทราบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหรือมีโอกาสเป็นโรค เอส แอล อี bim100 product (Arthinox capsule) for SLE มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น
1. แสงแดด โดยเฉพาะ แสงอุลตร้าไวโอแลต
2. การตั้งครรภ์
3. ยาบางชนิด
 
อาการของ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ เอส แอล อี (SLE) มีอะไรบ้าง
โรค เอส แอล อี (SLE) เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลายลักษณะ อาจมีอาการเฉียบพลันและรุนแรงหรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานานหลายปี  อาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อม ๆ กันหรือมีการแสดงออกเพียงอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้  มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้ แต่ลักษณะเฉพาะของโรค เอส แอล อี คือผู้ป่วยจะมีอาการในหลาย ๆ ระบบของร่างกาย โดยจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่พร้อมกันก็ได้
 
เมื่อไรควรสงสัยว่าเป็น โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรค เอส แอล อี (SLE)
1. เมื่อมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ นานเป็นเดือน
2. เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อ
3. เมื่อมีผื่นคันที่หน้า โดยเฉพาะเวลาถูกแสงแดด
4. เมื่อมีผมร่วงมากขึ้น
5. เมื่อมีอาการบวมตามหน้า ตามเท้า
 
สิ่งสำคัญในการรักษาโรค เอส แอล อี (SLE) ขึ้นอยู่กับ การเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง ทั้งชนิด ขนาด และจังหวะการให้ยาตามจังหวะของโรค แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติตัวที่ดีของผู้ป่วย  การมารับการตรวจรักษาสม่ำเสมอตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด
 
จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็น โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ โรคเอส แอล อี (SLE)
1. ในระยะแรกต้องได้รับการรักษาด้วยยา ต้องรับประทานยาตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด
2. ควรพยายามอย่าให้ผิวหนังถูกแสงแดดโดยตรง ควรใส่หมวกปีกกว้าง กางร่ม  และสวมใส่เสื้อแขนยาวเวลาที่จำเป็นต้องออกแดด
3. ทำจิตใจให้สบาย ไม่ควรเครียด ถ้อถอย เศร้าใจ หรือกังวลใจ เพราะทำให้อาการกำเริบได้  ควรมีกำลังใจและมีความอดทนต่อการรักษา
4. เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักและผลไม้ต่าง ๆ มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง
5. เนื่องจากผู้ป่วย เอส แอล อี มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่ายจึงต้องคอยระหวังตัว ไม่เข้าใกล้ผู้อื่นที่กำลังเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด พยายามไม่อยู่ในที่ผู้คนแออัด  นอกจากนี้อาหารที่รับประทานทุกชนิดควรเป็นอาหารที่สะอาดและต้มสุกแล้วbim100 product (Arthinox capsule) for SLE
6. ทำตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล และไปรับการตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินความรุนแรงของโรคและผลการรักษาแพทย์จะได้พิจารณา ให้การรักษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
7. ไม่ควรเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อย ๆ เพราะแพทย์คนใหม่อาจจะไม่ทราบรายละเอียดของ อาการเจ็บป่วย ทำให้เกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยและการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจเป็นอันตรายได้
8. ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะจะมีโอกาสแพ้ยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนธรรมดา
9. ไม่ควรเพิ่มหรือลดขนาดยาเอง
10. ถ้ามีอาการผิดปกติ มีไข้ หรือไม่สบาย ควรรีบกลับไปปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที  หรือหากจะไปหาแพทย์อื่น ควรนำยาที่กำลังรับประทานอยู่ไปให้แพทย์ดูด้วยทุกครั้ง  เพื่อว่าแพทย์จะได้จัดยาได้ถูกต้องและสอดคล้องกับยาประจำที่รับประทานอยู่
11. ผู้ป่วยหญิงที่แต่งงานแล้ว ไม่ควรมีบุตรในระยะที่โรคกำเริบ เพราะจะเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กในครรภ์ ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดเพราะอาจจะทำให้อาการ ของโรคกำเริบขึ้น ควรเลี่ยงใช้วิธีอื่น ๆ แทนโดยการปรึกษาแพทย์ ผู้ป่วยจะสามารถตั้งครรภ์ได้เมื่อ พ้นระยะที่โรคมีความรุนแรงแล้ว  แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์และขณะ ตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์
 
ลักษณะทางอาการของ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE ตามระบบที่สำคัญคือ
อาการทั่วไป ผู้ป่วยมักจะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  ปวดตามข้อ จิตใจหดหู่
อาการทางผิวหนัง  ผู้ป่วยจะมีผื่นเกิดที่บริเวณใบหน้า ตั้งแต่บริเวณสันจมูกไปที่บริเวณโหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง เป็นรูปคล้ายผีเสื้อ (butterfly rash) หรือเรียกว่า Malar rash นอกจากนี้ผู้ป่วยมักจะมีผื่นขึ้นหรือมีอาการคันเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด (photosensitivity) หรือมีผื่นเป็นวง ๆ เป็นแผลเป็นตามหน้า และหลังศรีษะหรือใบหู (discoid lupus) หรือมีอาการปลายมือปลายเท้าขาว ซีดเขียว เวลาโดนความเย็นผู้ป่วยบางรายจะมีแผลในปาก โดยเฉพาะบริเวณเพดานปากเป็นๆหายๆ
ผม อาการผมร่วงเป็นอาการที่พบบ่อยในขณะที่โรคเป็นรุนแรง
อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ  ผู้ป่วยเอส แอล อี ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ อาจจะเป็นข้อนิ้วมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า อาจมีอาการบวมแดงร้อนร่วมด้วย อาจทำให้ข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างได้ แต่จะไม่ถึงกับทำลายข้อ  ดังเช่นในโรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ นอกจากนี้อาจมีอาการปวด หรืออักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นร่วมด้วย
อาการทางไต ไต เป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการอักเสบได้บ่อยในผู้ป่วย เอส แอล อี ผู้ป่วยที่มีไตอักเสบ จะมีอาการบวมบริเวณเท้า 2 ข้าง หน้า หนังตา หรือบวมทั้งตัว  เราพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะมีไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก รายที่มีอาการรุนแรงขึ้นจะมีความดันโลหิตสูงขึ้น  มีปัสสาวะออกน้อยลง หรือมีปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ในรายที่เป็นรุนแรงมากอาจถึงขั้นมีไตวายได้  อาการทางไตเป็นอาการสำคัญที่บอกว่าโรคค่อนข้างเป็นรุนแรง
อาการทางระบบประสาท  เมื่อผู้ป่วย เอส แอล อี มีการอักเสบของสมอง บางรายมีอาการชัก บางรายมีอาการพูดเพ้อเจ้อ เอะอะโวยวายคลุ้มคลั่งคล้ายคนโรคจิต จำญาติพี่น้องไม่ได้ บางรายมีการอักเสบของเส้นประสาทเฉพาะที่ร่วมด้วยได้
อาการทางระบบโลหิต  บางครั้งมีการทำลายเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกร็ดเลือดทำให้มีอาการโลหิตจาง  ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืดจะเป็นลม หรือมีเม็ดเลือดขาวต่ำลง หรือเลือดออกง่ายได้
อาการทางหัวใจและหลอดเลือด  เมื่อมีการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก  ใจสั่น เหนื่อยง่าย นอนราบไม่ได้ บางครั้งมีจังหวะการเต้น ของหัวใจผิดปรกติถ้ามีการอักเสบของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ จะมีอาการของ การขาดเลือดของอวัยวะนั้น ๆ เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ผู้ป่วย เอส แอล อี บางราย อาจมีภาวะเลือด แข็งตัวง่าย ทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง  ตามอวัยวะต่าง ๆ
อาการทางระบบเดินอาหาร  ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก การดูดซึมสารอาหารจากลำไส้ผิดปกติ  บางครั้งมีตับอ่อนอักเสบร่วมด้วยได้
 
ผู้ป่วยด้วยโรค เอส แอล อี แต่ละคนไม่จำเป็นต้องมีอาการครบทุกระบบ หรือมีอาการรุนแรงเสมอไป  ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระบบอวัยวะที่ผู้ป่วยมีอาการร่วมด้วย บางคนเป็นน้อย  มีแต่ ไข้ ปวดข้อ มีผื่นขึ้น บางคนมีอาการรุนแรง มีชัก คลุ้มคลั่ง ไตวาย หรือปอดอักเสบรุนแรงจนมีเลือดออกในปอดได้  อาการของโรคจะแสดงความรุนแรง แต่บางครั้งอาการก็สงบลงได้เอง
 
ดูแลตัวเองอย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่เป็น เอส แอล อี (SLE) จึงจำเป็นต้องมีข้อระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าคนปกติ  คุณหมอแนะนำว่า “ตั้งแต่เรื่องความสะอาด อาหารทุกอย่างควรทำสุกและสะอาด เพราะในบ้านเรานี่พบการติดเชื้อทางเดินอาหารบ่อยมาก  หลีกเลี่ยงแสงแดดและที่ชุมชนแออัด ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ ถ้าเครียดมาก หรือหักโหมงานหนัก อดนอนก็ทำให้โรคกำเริบได้ รวมถึงญาติของผู้ป่วยก็ต้องสนับสนุนในเรื่องจิตใจให้กำลังใจผู้ป่วย เรื่องจิตใจนี่สำคัญ เพราะโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ต้องต่อสู้อีกไกล บางคนเป็นที่ไต  ก็ต้องระวังเรื่องอาหารการกิน งดอาหารที่มีรสเค็ม ลดอาหารจำพวกโปรตีนลง กินไม่ได้เท่าที่อยากกิน เป็นต้น” และที่สำคัญมากก็คือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
ผศ. น.พ. กิตติ ยังฝากบอกคนที่เข้าใจว่าเป็น เอส แอล อี แล้ว ห้ามมีบุตรว่า ก็มีส่วนในกรณีที่โรคยังเป็นมากอยู่ เพราะจะเป็นอันตรายทั้งแม่และเด็ก แต่ถ้าอยากมีบุตรจำเป็นต้องรอรักษาจนแน่ใจว่าโรคสงบแล้ว อย่างน้อยประมาณ 6 เดือนขึ้นไป ก็อาจจะพิจารณาการมีบุตรได้
สำหรับคนทั่วไปที่กลัวว่าจะเป็นโรค เอส แอล อี ไม่ควรวิตกกังวลมาก อย่างที่ ผศ. น.พ. กิตติ บอกแล้วว่าสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ คนที่เป็นแล้วก็ไม่ต้องกลัว  ถ้าปฏิบัติตัวตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด อาการของโรคก็มักจะสงบลง สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติสุขเหมือนคนทั่วไปได้
 
บทความโดย 
ผศ.น.พ.กิตติ โตเต็มโชคชัยการ
หน่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์  โรงพยาบาลรามาธิบดี
 
 

 

 

สายตรงปรึกษาด้านสุขภาพด่วนทางไลน์

 

 Line  id :  @bim959

 

 
Call-center-bim100-products-arthinoxcapsule-for-sle
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Bim100 for all register

สร้างรายได้ที่มั่นคง กับ ทีมงานมืออาชีพ  ทั้งระบบออฟไลน์ และ ออนไลน์ กรอกรายละเอียดให้ชัดเจน ครบถ้วน ตามแบบฟอร์ม  ทางทีมงานจะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมงครับ

 
 
 
 


1
[Go to top]