Gerdกรดไหลย้อน เสียงแหบ แสบในคอ ลำคอบวม|อาการที่เกี่ยวข้องกัน|BIM
ReadyPlanet.com
call center 092-982-6465 ข้อมูลชัดเจน
สินค้า ชุดพิเศษ
bim100 operation bim
Testimonials
dot
Question for health
dot
dot
main menu
dot
OperationBIM Products-Bim100 balancing immunity products-ผลิตภัณฑ์บิม100 อาหารเสริมปรับภูมิคุ้มกันให้สมดุล มิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ
TrimOne Slimming Products-ทริมวัน ลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ได้ผล ปลอดภัย ไร้ผลข้างเคียง
Cosmetic products  for healthy
GM1  mangosteen Supplement product
buy it now
Bank for payment
Healthy Articles - บทความสุขภาพ
join member
 Q & A




เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาวะกรดไหลย้อน GERD

 

 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาวะกรดไหลย้อน

ลดความอ้วน

อาการจุกเสียดท้องยืดเยื้อที่เกิดขึ้นมากกว่า 2 วันในหนึ่งสัปดาห์และดำเนินมาเรื่อยๆเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนอาจจะเป็นผลมาจากโรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่เรียกกันว่า GERD(กรดไหลย้อน)  โรคกรดไหลย้อนถือเป็นโรคที่สร้างความรำคาญให้แก่ผู้คนมากมายทุกวันนี้ มันเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) ไม่สามารถปิดได้อย่างสนิท ส่งผลให้กล้ามเนื้อนั้นปล่อยให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลกลับไปยังหลอดอาหารซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมระหว่างลำคอกับกระเพาะอาหาร การไหลกลับของกรดในกระเพาะสามารถทำให้เกิดการจุกเสียดท้องอยู่บ่อยๆและส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป

ลดความอ้วน

 

 

ถึงแม้ว่าผู้ที่มีอาการจุกเสียดหลายๆคนจะรายงานว่าอาการของโรค GERD นั้นจะเกิดขึ้นตอนกลางคืนในขณะนอน แต่ก็ยังมีรายงานจากคนอื่นๆที่มีอาการเกิดขึ้นในช่วงกลางวัน โดยเฉพาะหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่หรืออาหารที่มีปริมาณกรดหรือไขมันสูง แพทย์แนะนำว่าการนอนหลับโดยที่หัวเตียงยกขึ้นประมาณ 6 นิ้วจะช่วยป้องกันอาการกรดไหลย้อนในตอนกลางคืนได้

สำหรับอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อนนั้นรวมถึงอาการแสบในลำคอ เจ็บหน้าอก การกลืนยาก รู้สึกเจ็บเมื่อกลืน เสียงแหบ ระคายเคืองลำคอ รู้สึกถึงรสขมหรือเปรี้ยวในปาก หรือแม้แต่อาการบวมของคอและหลอดอาหาร

ลดความอ้วน

 

มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจำไว้เลยว่าอาการเจ็บบริเวณหน้าอกที่เกี่ยวข้องกับโรคกรดไหลย้อนนั้นสามารถแสดงอาการคล้ายๆกับโรคหัวใจ ยกตัวอย่างเช่น ทั้งกรณีของโรคกรดไหลย้อนและโรคหัวใจสามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกซึ่งอาจจะขยายไปถึงแผ่นหลัง แขนและคอ  การเพิกเฉยต่ออาการเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่โง่เขลาและอันตรายมาก สาเหตุของการเจ็บหน้าอกนั้นจะต้องถูกพิเคราะห์โดยแพทย์หรือผู้ให้บริการทางสาธารณสุข การคาดเดาว่าการเจ็บหน้าอกเป็นผลมาจากการจุกเสียดท้องโดยที่ไม่มีคำยืนยันจากแพทย์นั้นไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย

 

 

 

การปรับวิถีการใช้ชีวิต อาหารการกินและการใช้ยาสามัญนั้นถือเป็นแนวทางแรกๆของการรักษาที่ถูกเสนอโดยผู้บริการทางสาธารณสุขหลังจากที่การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนได้รับการยืนยัน อย่างไรก็ตาม ถ้าวิธีเหล่านี้ไม่สามารถควบคุมอาการได้ อาจจะต้องมีการสั่งยาเฉพาะที่ต้องมีใบสั่งยากำกับ การผ่าตัดมักจะถูกมองว่าเป็นทางเลือกสุดท้ายในการจัดการกับโรคนี้

โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่อาจจะก่อให้เกิดผลในระยะยาวได้ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา มันมีทางเลือกการรักษามากมายที่ไม่มีผลข้างเคียงและสามารถกำหนดโรคนี้ได้ก่อนที่จะมีโอกาสเป็นโรคร้ายในระยะยาว

บทความนี้เป็นของ https://www.bim100forall.com  ถ้าจะนำไปเผยแพร่ต่อกรุณาให้ Credit ด้วยนะครับ

 

การสูบบุหรี่ คาเฟอีน ฮอร์โมน ช็อกโกแลต สะระแหน่ การใส่เสื้อผ้ารัดๆ การใช้ยาบางชนิด ความอ้วน การตั้งครรภ์ล้วนแล้วแต่ถูกจัดว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อน โดยสิ่งกระตุ้นเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงหรือกระทั่งอาจควบคุมได้ทำให้มันเป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะจัดการกับโรคกรดไหลย้อนด้วยการปรับวิถีการใช้ชีวิต

บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยภาวะกรดไหลย้อนนั้นจะมีอาการของ
hiatal hernia นั่นคือการยื่นของส่วนของกระเพาะอาหารเข้าไปใน esophageal hiatus ซึ่งเป็นช่องเปิดในกะบังลม  ซึ่งนำไปยังหน้าอก อาการ hiatal hernia นี้จะ ไปสนับสนุนการเริ่มโจมตีและความรุนแรงของอาการกรดไหลย้อน โดยมันจะปล่อยให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวและทำให้หลอดอาหารไม่ว่างเปล่า และมันยังส่งผลคืออาการ esophagitis นั่นคือการกัดกร่อนของผนังหลอดอาหารที่เกิดจากการได้รับกรดจากกระเพาะอาหารและเอนไซม์ช่วยย่อยมากเกินไป เนื่องมาจากการที่เนื้อเยื่อรับสัมผัสเปิดรับกรดจากกระเพาะอาหารมากเกินไป

 

                   ปรึกษา/ สอบถามข้อมูล  โทร. 092-982 6465  ,  098-645 1554

                               เพิ่มเพื่อน  LINE ID :  @bim959 (ต้องมี@ด้วยนะ)

 

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บทความสุขภาพ

Bim100 กระเพาะและกรดไหลย้อน ข้อมูลน่ารู้
BIM100 ภูมิแพ้อากาศ ไซนัสอักเสบ ข้อมูลน่ารู้
Bim100 ข้อเสื่อมและข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อมูลน่ารู้
เชื้อราในโพรงไซนัส
Antiphospholipid Antibody Syndrome
โรคกระดูกพรุน
วิธีปฏิบัติเมื่อเป็นโรคกระเพาะ Gastritis
โรคพาร์กินสัน Parkinson – นิยาม สาเหตุ อาการและแนวทางรักษา
8 วิธีลดการแพ้ขนสุนัข
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคตับอักเสบ
สาระน่ารู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัส H1N1
ทำความเข้าใจกับโรคข้อเสื่อม
ความรู้เบื้องต้นของโรคสะเก็ดเงิน หรือ เรื้อนกวาง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ – 6 วิธีในการสู้กับอาการเจ็บปวด
วิธีการที่จะเอาชนะเบาหวานได้ใน 4 ขั้นตอนง่ายๆ
วิธีการป้องกันตัวจาก ไข้หวัด 2009 แบบง่ายๆ
กินอยู่อย่างไรกับโรคเบาหวาน อย่างมีความสุข
เบาหวาน โรคที่ใครๆก็อาจเป็นได้
ความรู้ทั่วไปเรื่องโรคเบาหวาน
อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร
โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid)
โรคภูมิแพ้ Allergy
โรคเก๊าท์ เกิดได้ยังไง