www.bim100forall.com Email : bim100forall@gmail.com
เลขที่ 42/457 ซ.นิมิตใหม่20 แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา กทม. 10510
โทร. 092 982 6465 , 098 645 1554
โดยนายคุณธน วนิชชานันท์ ตัวแทนจำหน่ายและศูนย์จำหน่าย BIM100 ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ของเอเชียนไลฟ์ อย่างถูกต้อง
** Disclaimer ผลที่ได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ** นโยบายความเป็นส่วนตัว
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoide Arthritis) เป็นกลุ่มอาการของโรคที่มีการอักเสบของทุกระบบในร่างกาย แต่จะมีการอักเสบเด่นชัดที่ เยื่อบุข้อ และ เยื่อบุเส้นเอ็น ลักษณะสำคัญของโรคนี้ได้แก่ มีการอักเสบของข้อ หลาย ๆ ข้อ พร้อม ๆ กัน เป็นเรื้อรังติดต่อกันนานเป็นเดือน ๆ หรือ ปี ๆ โรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 5 เท่า อาการอาจเริ่มปรากฏในช่วงอายุเท่าใดก็ได้ แต่จะพบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี ถ้าหากเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กก็มักจะมีอาการรุนแรง ในเด็กจะมีอาการและอาการแสดงต่างจากผู้ใหญ่ รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( Rheumatoide arthritis) 1.มีการอักเสบเรื้อรังของข้อหลาย ๆ ข้อ ทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 อาทิตย์ 2.ข้ออักเสบ พบบ่อยที่บริเวณ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อกลางนิ้วมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการปวด บวม และกดเจ็บตามข้อต่าง ๆ ถ้า เป็นมานานจะมีข้อผิดรูปได้ ซึ่งเกิดจาก การอักเสบของเยื่อบุข้อ การคั่งของเลือดในบริเวณข้อ ขาดการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด กินอาหารไม่เพียงพอ หรือ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ 3.มีอาการข้อฝืด ข้อแข็ง เคลื่อนไหวลำบาก ในช่วงตื่นนอนตอนเช้า มักต้องใช้เวลานานกว่า 1 ชั่วโมงจึงจะเริ่มขยับข้อได้ ดีขึ้น ในช่วงบ่าย ๆ มักจะขยับข้อได้เป็นปกติ 4.พบอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยหมดทั้งตัว น้ำหนักลด มีไข้ต่ำ ๆ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ ปุ่มรูมาตอยด์ใต้ผิวหนัง และภาวะเลือดจาง 5.ตรวจเลือด พบมีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้จะตรวจเลือดพบเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น ดังนั้นถ้าตรวจไม่พบรูมาตอยด์ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่เป็นโรครูมาตอยด์แต่ผู้ที่มีปริมาณรูมาตอยด์แฟคเตอร์ สูงจะมีอาการรุนแรงกว่า 6.เจาะน้ำในข้อไปตรวจ 7.เอ๊กซเรย์ ไม่จำเป็น ยกเว้นในกรณีที่ใช้ประเมินว่าข้อถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด เพราะอาจจะต้องผ่าตัด ผู้ป่วยโรคข้อ ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ สามารถใช้ข้อต่าง ๆ ได้เกือบเท่ากับคนปกติ จะมีผู้ป่วยส่วนน้อยประมาณร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรง ทำให้เกิดความพิการ มีข้อบิดเบี้ยวผิดรูปร่างจนใช้งานไม่ได้ และมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมาก ที่จะมีอาการอักเสบของอวัยวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตา หัวใจ หลอดเลือด ปอด ม้าม เป็นต้น สำหรับข้อที่มีการอับเสบอยู่แล้ว การรักษาจะเป็นการควบคุมโรคไม่ให้เป็นมากขึ้น ดังนั้นข้อก็อาจจะบวม ผิดรูปอยู่เหมือนเดิม ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการรักษาไม่ได้ผล โรครูมาตอยด์มีความรุนแรงแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นแพทย์ก็จะให้การรักษาแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในระยะแรกแพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนยาไปมา เพื่อหาว่ายาตัวใดเหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นมากที่สุด ส่วนผลการรักษาจะดีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่เป็นโรค ความรุนแรงของโรค การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโดยเฉพาะการทำกายภาพบำบัดของข้อ และ การใช้ข้ออย่างถูกวิธี แนวทางการรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( Rheumatoide arthritis) 1.การทำกายภาพบำบัดของข้อ 2. ยากลุ่มระงับการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง จะช่วยลดอาการปวดและบวมตามข้อได้ค่อนข้างดี และเมื่อเลือกใช้ยาตัวใดก็ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น 3. ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่ม นี้มีทั้งชนิดกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าข้อ จะใช้เมื่อการอักเสบรุนแรง แต่ไม่ควรใช้ในขนาดสูงหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะผลข้างเคียงมาก เช่น กระดูกพรุน ไตวายเฉียบพลัน ติดเชื้อง่าย และเมื่อหยุดยาก็จะกลับมีอาการขึ้นอีก ในช่วงที่มีการอักเสบมาก อาจใช้ในขนาดสูง เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรลดยาลง 4. ยากลุ่มยับยั้งข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ออกฤทธิ์ช้า เป็น ยาที่ค่อนข้างอันตราย มีผลข้างเคียงมาก แพทย์จึงจะใช้ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือในผู้ที่มีอาการอักเสบรุนแรง มีรูมาตอยด์แฟคเตอร์ในเลือดสูง 5. การผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเลาะเยื่อบุข้อที่มีการอักเสบออก ผ่าตัดเย็บซ่อมหรือย้ายเส้นเอ็น ผ่าตัดเชื่อมข้อติดกัน ผ่าตัดกระดูกปรับแนวข้อให้ตรงขึ้น ผ่าตัดใส่ข้อเทียม การผ่าตัดถือว่าเป็นการรักษาปลายเหตุเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น
สายตรงปรึกษาด้านสุขภาพด่วนทางไลน์ ข้อมูลเพิ่มเติม Line id : @bim959
|
[Go to top] |